เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิตโดยเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิต และกฏัตตารูปโดย
เหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ จิต และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)

อารัมมณปัจจัย
[211] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ขันธ์ที่
มีจิตเป็นสมุฏฐานจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็น
สมุฏฐาน จิตจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจิตจึงเกิดขึ้น (3)
[212] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิต
เป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค
พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์
ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิต
เป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณและ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :118 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน
(เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่ไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย
ทิพพจักขุ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ
พิจารณานิพพาน (เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย
ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและ
สัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย
แก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (พึงเพิ่มคําว่า เพราะปรารภ)

อธิปติปัจจัย
[213] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :119 }